วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)

                        มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีจำนวน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม เป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญต่อชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่พบในปลา และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ พาราทอร์โมน (Parathormone)





ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์


1.พาราทอร์โมน (Parathormone) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสใน
    เลือด และเนื้อเยื่อให้ปกติ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับ
    วิตามิน ซี และ ดี ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม กับ Calcitonin
หน้าที่ : รักษาระดับสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่ คือ 10 Mg/เลือด 100 c.c.โดย
             ทำงานตรงข้ามกับแคลซิโทนิน คือ ละลายแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด
2.ความผิดปกติของฮอร์โมนพาราทอร์โมน
    1.)ระดับฮอร์โมนต่ำเกินไป : จะเกิดสภาวะ เรียกว่า ไฮโปพาราไทรอยดิสซึม (Hypoparathyroidism)
                                                 ทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่อของหน่วยไตลดน้อยลง มีฟอสฟอรัสมาก
                                                 ขึ้น ทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็ง เรียกการเกิดนี้ว่า Tetany
                                                 แก้โดย ลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงๆ และเพิ่มแคลเซียมหรือฉีดวิตามิน D
     2.)ระดับฮอร์โมนสูงเกินไป : จะเกิดสภาวะที่เรียกว่าไฮเปอร์พาราไทรอยด์ดิสซึม 
                                                  (Hyperparathyroidism) มีผลให้มีการดึงฟอสฟอรัสออกจากเลือด
                                                   แคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูกและฟันเข้าสู่กระแสเลือด แคลเซียมใน
                                                   เลือดสูงกว่าปกติ กระดูกผิดปกติ กระดูกบาง ฟันหักและผุง่าย
3.วิธีป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งและชักกระตุก
                        อาจทำได้โดยเลือกกินอาหาร ที่มีฟอสฟอรัสน้อย หรือเพิ่มเกลือแคลเซียม หรือกินวิตามิน 
    D สม่ำเสมอ เพื่อทำให้ลำไส้เล็กสามารถดูดแคลเซียมกลับได้ดีขึ้น (วิตามิน D ทำงานร่วมกับฮอร์โมน
    พาราทอร์โมน)
                        ฮอร์โมนพาราทอร์โมน จะทำงานร่วมกับคัลซิโตนิน เพื่อรักษาระดับสมดุลของ แคลเซียม
    และฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่ โดยแคลซิโทนินจะช่วยลด แคลเซียมไอออน ในเลือดแต่พาราทอร์-
    โมนช่วยเพิ่ม แคลเซียมไอออนในน้ำเลือด ถ้าร่างกายขาดพาราทอร์โมน จะทำให้ตายในระยะเวลาอัน
    สั้น ถือว่าเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อชีวิตมาก เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของหัวใจ การทำงานของ
    กล้ามเนื้อ และการส่งกระแสประสาท 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น