วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)

                      ต่อมหมวกไตตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง จึงเรียกว่าต่อมหมวกไต แต่ละต่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ซึ่งทั้งสองส่วนจะผลิตฮอร์โมนพวกสารสเตอรอยด์ที่ทำหน้าที่ต่างกัน คือ 
1.ต่อมหมวกไตด้านนอกหรืออะดรีนัลคอร์เทกซ์ (Adrenal cortex)
2.ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla)
                      การสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกต้องอาศัยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากระตุ้น ต่อมหมวกไตมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะควบคุมเมแทบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีน รักษาระดับสารน้ำในร่างกายและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดต่อเหตุการณ์ต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและยามฉุกเฉิน










ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก


1.ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ คอร์ติซอล (Cortisol)
   เป็นฮอร์โมนที่จำเป็น (Essential hormone) ที่มีความสำคัญต่อชีวิต ถ้าขาดฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์
   ซึ่งเป็นฮอร์โมนจำเป็นจะมีผลอย่างมากต่อเซลล์ของร่างกาย
   อวัยวะเป้าหมาย : เซลล์ตับ
   หน้าที่ : เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยจะกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโน
                บางตัวเป็นกลูโคส และเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน แล้วจะเปลี่ยนจากไกลโคเจนให้เป็น
                กลูโคสเพื่อปล่อยเข้่าสู่กระแสเลือดเมื่อต้องการเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดซึ่งเป็น
                ขบวนการที่สำคัญ
    ความผิดปกติ : ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจะทำให้เกิด โรคคูชชิง ( Cushing’s syndrome) พบในผู้
                             ป่วยที่มีเนื้องอกของต่อมหมวกไตส่วนนอกหรือได้รับการรักษาด้วยยาหรือฮอร์โมนที่
                             มีคอร์ติโคสเตรอยด์เป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันอาการแพ้ อักเสบติดต่อกันเป็นระยะ
                             เวลานาน เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิงโดยมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมทาบอลิซึมของ
                             คาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้อ
                             อ่อนแรงเนื่องจากมีการสลายโปรตีนและไขมันตามบริเวณแขนขา
2.ฮอร์โมนมินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid) ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่
   แอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย
   อวัยวะเป้าหมาย : ไต (ท่อหน่วยไต)
   หน้าที่ : ช่วยในการทำงานของไตในการดูดน้ำและNa+ กลับเข้าสู่ท่อหน่วยไต ขับ K+ ออกจากท่อ
                หน่วยไต และควบคุมความสมดุลของฟอสเฟต
   ความผิดปกติ : ถ้าขาด แอลโดสเตอโรน จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ
                            ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ
3.ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) ซึ่งสร้างปริมาณเพียงเล็กน้อย เท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับที่สร้างจาก
   อวัยวะเพศดังนั้น ในวัยผู้ใหญ่ เมื่อหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมามากจะไม่พบความผิดปกติ แต่ในวัยเด็ก ถ้า
   เป็นผู้ชาย จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่ากำหนด
   ส่วนในเพศหญิง เนื่องจากต่อมหมวกไต ส่วนนอกนี้ผลิตแอนโดรเจน (androgen) ถ้ามีการผลิต
   ฮอร์โมนนี้มากซึ่งอาจเกิดจากมีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต จะทำให้เกิดลักษณะของเพศชายได้
                      ถ้าต่อมหมวกไตด้านนอก ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็น โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน

                      ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla) เป็นทั้งต่อมไร้ท่อและเป็นส่วนของประสาทซิมพาเทติก จะทำงานเมื่อเผชิญหน้ากับ ภาวะเครียด ตื่นเต้น ตกใจ กลัว หนีภัย เมื่อเจ็บปวดและออกกำลังกาย สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
1.ฮอร์โมนเอพิเนฟริน (Epinephrine hormone) หรือ อะดรีนาลิน (Adrenalin hormone)
   แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla)
   อวัยวะเป้าหมาย : ตับหลอดเลือดแดงขนาดเล็กหัวใจ
   หน้าที่ : เปลี่ยนไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแส
                เลือดการเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง
                และเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น หลอดเลือด
                แดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆขยายตัว หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณ
                ผิวหนังและช่องท้องหดตัว
2.ฮอร์โมนนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine hormone) หรือ นอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin 
   hormone)
   แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla)
   อวัยวะเป้าหมาย : ตับหลอดเลือดแดงขนาดเล็กหัวใจ
   หน้าที่ : ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาจากปลายประสาทซิมพาเทติกได้ด้วย ผลของฮอร์โมนชนิดนี้คล้าย
               กับอะดรีนาลินมากคือเปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับ
               กลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด การเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น 
               กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์
               ร่างกายได้มากขึ้น หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆหดหรือบีบตัว
                      การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ ไฮโปทาลามัส ซึ่งในสภาวะปกติ จะหลั่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ในบางกรณี เช่น คนหนีไฟไหม้จะสามารถแบกของหนักๆได้ทั้งๆที่สภาวะปกติทำไม่ได้ ในภาวะร่างกายที่อยู่ในเหคุการณ์เช่นนี้  อะดรีนัลเมดัลลาจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลินออกมามากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายมีพลังงานมากกว่าปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น