วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายชื่อผู้จัดทำบล็อก

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา พลานามัย พ30101

เสนอ

อ. จัตวา อรจุล

จัดทำโดย

1.น.ส.อรวรรยา ปิ่นแสง เลขที่ 9
2.นายนิธิ เอี่ยมพงษ์ไพบูลย์ เลขที่ 17
3.นายพสธร เรืองเวชวรชัย เลขที่ 19
4.นายภานรินทร์ ศรีสังวรณ์ เลขที่ 21

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/9

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

โรงเรียน มหิดลวิทยานุสรณ์

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)

                      ต่อมหมวกไตตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง จึงเรียกว่าต่อมหมวกไต แต่ละต่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ซึ่งทั้งสองส่วนจะผลิตฮอร์โมนพวกสารสเตอรอยด์ที่ทำหน้าที่ต่างกัน คือ 
1.ต่อมหมวกไตด้านนอกหรืออะดรีนัลคอร์เทกซ์ (Adrenal cortex)
2.ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla)
                      การสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกต้องอาศัยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากระตุ้น ต่อมหมวกไตมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะควบคุมเมแทบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีน รักษาระดับสารน้ำในร่างกายและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดต่อเหตุการณ์ต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและยามฉุกเฉิน










ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก


1.ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ คอร์ติซอล (Cortisol)
   เป็นฮอร์โมนที่จำเป็น (Essential hormone) ที่มีความสำคัญต่อชีวิต ถ้าขาดฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์
   ซึ่งเป็นฮอร์โมนจำเป็นจะมีผลอย่างมากต่อเซลล์ของร่างกาย
   อวัยวะเป้าหมาย : เซลล์ตับ
   หน้าที่ : เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยจะกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโน
                บางตัวเป็นกลูโคส และเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน แล้วจะเปลี่ยนจากไกลโคเจนให้เป็น
                กลูโคสเพื่อปล่อยเข้่าสู่กระแสเลือดเมื่อต้องการเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดซึ่งเป็น
                ขบวนการที่สำคัญ
    ความผิดปกติ : ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจะทำให้เกิด โรคคูชชิง ( Cushing’s syndrome) พบในผู้
                             ป่วยที่มีเนื้องอกของต่อมหมวกไตส่วนนอกหรือได้รับการรักษาด้วยยาหรือฮอร์โมนที่
                             มีคอร์ติโคสเตรอยด์เป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันอาการแพ้ อักเสบติดต่อกันเป็นระยะ
                             เวลานาน เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิงโดยมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมทาบอลิซึมของ
                             คาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้อ
                             อ่อนแรงเนื่องจากมีการสลายโปรตีนและไขมันตามบริเวณแขนขา
2.ฮอร์โมนมินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid) ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่
   แอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย
   อวัยวะเป้าหมาย : ไต (ท่อหน่วยไต)
   หน้าที่ : ช่วยในการทำงานของไตในการดูดน้ำและNa+ กลับเข้าสู่ท่อหน่วยไต ขับ K+ ออกจากท่อ
                หน่วยไต และควบคุมความสมดุลของฟอสเฟต
   ความผิดปกติ : ถ้าขาด แอลโดสเตอโรน จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ
                            ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ
3.ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) ซึ่งสร้างปริมาณเพียงเล็กน้อย เท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับที่สร้างจาก
   อวัยวะเพศดังนั้น ในวัยผู้ใหญ่ เมื่อหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมามากจะไม่พบความผิดปกติ แต่ในวัยเด็ก ถ้า
   เป็นผู้ชาย จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่ากำหนด
   ส่วนในเพศหญิง เนื่องจากต่อมหมวกไต ส่วนนอกนี้ผลิตแอนโดรเจน (androgen) ถ้ามีการผลิต
   ฮอร์โมนนี้มากซึ่งอาจเกิดจากมีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต จะทำให้เกิดลักษณะของเพศชายได้
                      ถ้าต่อมหมวกไตด้านนอก ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็น โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน

                      ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla) เป็นทั้งต่อมไร้ท่อและเป็นส่วนของประสาทซิมพาเทติก จะทำงานเมื่อเผชิญหน้ากับ ภาวะเครียด ตื่นเต้น ตกใจ กลัว หนีภัย เมื่อเจ็บปวดและออกกำลังกาย สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
1.ฮอร์โมนเอพิเนฟริน (Epinephrine hormone) หรือ อะดรีนาลิน (Adrenalin hormone)
   แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla)
   อวัยวะเป้าหมาย : ตับหลอดเลือดแดงขนาดเล็กหัวใจ
   หน้าที่ : เปลี่ยนไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแส
                เลือดการเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง
                และเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์ร่างกายได้มากขึ้น หลอดเลือด
                แดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆขยายตัว หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณ
                ผิวหนังและช่องท้องหดตัว
2.ฮอร์โมนนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine hormone) หรือ นอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin 
   hormone)
   แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla)
   อวัยวะเป้าหมาย : ตับหลอดเลือดแดงขนาดเล็กหัวใจ
   หน้าที่ : ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาจากปลายประสาทซิมพาเทติกได้ด้วย ผลของฮอร์โมนชนิดนี้คล้าย
               กับอะดรีนาลินมากคือเปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับ
               กลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด การเผาผลาญอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้น 
               กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและกลูโคสไปให้เซลล์
               ร่างกายได้มากขึ้น หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะภายในต่างๆหดหรือบีบตัว
                      การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ ไฮโปทาลามัส ซึ่งในสภาวะปกติ จะหลั่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ในบางกรณี เช่น คนหนีไฟไหม้จะสามารถแบกของหนักๆได้ทั้งๆที่สภาวะปกติทำไม่ได้ ในภาวะร่างกายที่อยู่ในเหคุการณ์เช่นนี้  อะดรีนัลเมดัลลาจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลินออกมามากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายมีพลังงานมากกว่าปกติ

ต่อมไทมัส (Thymus gland)

                  มีลักษณะเป็นพู 2 พู อยู่บริเวณทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจ ต่อมไทมัสจะเจริญเต็มที่ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดาและมีขนาดใหญ่มากเมื่อยังมีอายุน้อย แต่เมื่ออายุมากขึ้นขนาดของต่อมไทมัสจะเล็กลงและฝ่อไปในที่สุด
อวัยวะเป้าหมาย : เนื้อเยื่อต่อมไทมัส
หน้าที่ : กระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมไทมัสเอง ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองสร้าง T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็น
             เซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และพัฒนา T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์
             ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ออกเป็น 3 ชนิดที่มีหน้าที่การทำงานต่างกันไป ชนิดแรก
             มีหน้าที่จดจำและตอบสนอง เพื่อระบุชนิดของแอนติเจนที่พบในร่างกาย แล้วกระตุ้นการทำงาน
             ของ B-cell ให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคให้หมดฤทธิ์ไป ชนิดที่สอง
             มีหน้าที่ยับยั้งการทำลายเซลล์ร่างกายของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่สามมีหน้าที่กำจัดเซลล์
             ร่างกายที่ติดเชื้อ


ไทโมซิน (Thymosin)
                  เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทมัส ซึ่งมีโครงสร้างเป็นสาย พอลิเปปไทด์ ที่มีกรดอะมิโนต่อกัน    เป็นสาย มีโครงสร้างหลายแบบ เช่น ไทโมซินแอลฟาหนึ่ง และไทโมซินเบตาสี่ เป็นต้น
หน้าที่ : กระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซท์ (Lymphocyte หรือ T-cell) ที่ยังอ่อนอยู่
             (Immature lymphocyte) แล้วปรับสภาพไปเป็นลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่ (Mature lymphocyte)
                  ลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่แล้วจะออกจากต่อมไทมัสไปอยู่บริเวณม้ามและ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากการกระทำของเซลล์ (Cellular immunity) คือทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาภูมิแพ้ และการไม่ยอมรับเนื้อเยื่อแปลกปลอมที่ปลูกถ่ายกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ต่อมไทมัสจะไวต่อการติดเชื้อ รังสี การเจ็บป่วยมาก พบว่าถ้ามีการติดเชื้อนานๆ เมื่อหายแล้วต่อมไทมัสจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย



ต่อมเพศชายและหญิง (Gonad gland)

                       อวัยวะสืบพันธุ์เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง ฮอร์โมนที่สร้างจึงเป็นพวกสารสเตอรอยด์ (Steroid hormone) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ


1.ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
                      ฮอร์โมนเพศชายสร้างมาจากอัณฑะ (Testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ในการ
   สร้างฮอร์โมน คือ อินเตอร์สติเชียลเซลล์ออฟเลย์ติก อยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิ เมื่อเซลล์นี้ถูกกระตุ้น
   โดย ICSH หรือLH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะสร้างฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า แอนโดรเจน 
   (Androgen) ตัวที่สำคัญที่สุด คือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของ
   อวัยวะสืบพันธุ์ และควบคุมลักษณะชั้นที่สองของเพศชาย ซึ่งได้แก่ การมีเสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวด
   เครา มีขนที่อวัยวะเพศ มีความต้องการทางเพศ มีผลในการกระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนมากขึ้น และ
   เกิดการสะสมของโปรตีนในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีผลร่วมกับโกนาโดโทรฟิน (LH และ FSH) 
   จากต่อมใต้สมองในการกระตุ้นการสร้างอสุจิของหลอดสร้างอสุจิ
2.ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง  สร้างมาจากรังไข่ (Ovary)
   1.) อิสโทรเจน (Estrogen) : สร้างมาจากเนื้อเยื่อขอบนอกของแกรเฟียนฟอลลอเคิลที่เรียกว่า ทีกาอิน-
                                               เทอร์นา (Theca interna) ฮอร์โมนนี้มีหน้าที่กระตุ้นและควบคุมลักษณะ
                                               ขั้นที่สองของเพศหญิง โดยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมเจริญเติบโตขึ้น กระตุ้น
                                               การเจริญของอวัยวะเพศ กระตุ้นมดลูก ท่อนำไข่ การเกิดขนที่อวัยวะเพศ 
                                               ควบคุมการมีประจำเดือนร่วมกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เมื่อปริมาณ อิส-
                                               โทรเจนสูงขึ้น จะมีผลให้ LH สูงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
   2.) โพรเจสเทอโรน (Progesterone) : สร้างมาจากคอร์พัสลูเทียม (Corpus luteum) ของรังไข่ เมื่อไข่
                                                               ตกแล้ว ผนังของฟอลิเคิลที่ไข่ตกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อ
                                                               สีเหลือง โดยการกระตุ้นของ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า 
                                                               เนื้อเยื่อสีเหลืองคือ คอร์พัสลูเทียม ฮอร์โมนนี้มีผลในการกระตุ้น
                                                               ผนังในมดลูกให้หนาขึ้น (ร่วมกับอิสโทรเจน)
 

ตับอ่อน (Pancreas)

                    ตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (Duodenum) ถึงม้าม (Spleen) และด้านหลังของกระเพาะ (Stomach) มีลักษณะค่อนข้างแบน มีความยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยไปที่ลำไส้เล็กและเป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนจะรวมกันเป็นกลุ่ม มีชื่อว่าไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans) มีปริมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อนทั้งหมด









1.ฮอร์โมนที่สร้างจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์

   แหล่งสร้าง : จากเบต้าเซลล์ ( beta cell ) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่รอบนอกของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลง-
                        เกอร์ฮานส์ ( ดูภาพด้านบน )
   อวัยวะเป้าหมาย : ตับ , กล้ามเนื้อ
   หน้าที่ : ลดระดับน้ำตาลในเลือด (ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 80 - 100 มิลลิกรัม / 100 ลบ.ซม.) โดย
                เพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับ กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อ
                เปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน (โมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตที่สร้างจากกลูโคส) เก็บสะสมไว้
                ภายในเซลล์
    ความผิดปกติ : ทำให้เกิดโรคเบาหวาน( diabetes mellitus)โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมน
                              อินซูลิน(lnsulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ทำให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อไม่สามารถ
                              เปลี่ยนกลูโคสในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บสะสมไว้ภายในเซลล์ได้จึงเกิดการสะสม
                              ของน้ำตาลในเลือดเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีมากเกินปกติก็จะถูกไตขับออกมาใน
                              ปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน หรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่าเบาหวาน
    อาการของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน1.) มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมา
                                                               ทางไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ
                                                               เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องดื่มน้ำบ่อย
                                                          2.) ผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมา
                                                               เผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทนทำให้ความเป็นกรดใน
                                                               เลือดสูงกลไกการหายใจผิดร่างกายผอม ไม่มีไขมัน
                                                               กล้ามเนื้อฝ่อ
                                                          3.) การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆเกิดความ
                                                               ผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น โรคตาต้อหิน
                                                               โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง
                                                          4.) ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความ-
                                                               ดันโลหิต สูง อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบ
                                                               แข็งเลือดไปเลี้ยงเท้า ไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว
                                                               หรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้ เป็นแผลหายยากหรือ
                                                               เท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
                                                          5.) เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรค
                                                               กระเพาะปัสสาวะอับเสบ ,กรวยไตอักเสบ กลาก โรคเชื้อรา ช่อง-
                                                               คลอดอักเสบ (ตกขาวและคันในช่องคลอด) เป็นฝี หรือ พุพอง
                                                               เท้าเป็นแผล ซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา)
2.ฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon)
   แหล่งที่สร้าง : จากแอลฟาเซลล์ (Alpha cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ส่วนในและเป็นเซลล์ส่วนใหญ่ของกลุ่
                          เซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
   อวัยวะเป้าหมาย : ตับ , กล้ามเนื้อ
   หน้าที่1.) กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสปล่อยเข้าสู่กระแส
                    เลือด 
               2.) เพิ่มการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนและกรดไขมัน

                    การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด จะเป็นสัญญาณยับยั้งหรือกระตุ้นการหลั่งอินซูลินและกลูคากอนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ และผลจากการทำงานของฮอร์โมนทั้งสองจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด
อยู่ในสภาวะปกติเสมอ

สมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus)

                    เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่เป็นฐานสมอง โดยด้านบนติดต่อกับทาลามัส ด้านล่างติดต่อกับก้านสมอง ภายในไฮโพทาลามัสประกอดไปด้วยเซลล์ประสาทมากมานและมีเส้นประสาทเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาท นอกจากนั้นไฮโพทาลามัสยังทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด
                    ภายในไฮโพทาลามัสจะมีเซลล์ประสาทที่ผลิตฮอร์โมนกลุ่มแรกจะผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด คือ          วาโซเพรสซิน และออกซิโทซิน ซึ่งจะถูกลำเลียงไปตามแอกซอน และถูกเก็บไว้บริเวณปลายแอกซอนที่อยู่ในต่อมใต้สมองส่วนหลัง เมื่อเซลล์ประสาทดังกล่าวถูกกระตุ้นก็จะปลดปล่อยฮอร์โมนออกมา ซึ่งจะถูกดูดซึม และลำเลียงตามกระแสเลือดไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย
                    เซลล์ประสาทที่ผลิตฮอร์โมนภายในไฮโพทาลามัสอีกกลุ่มหนึ่งจะทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอร์โมนที่จะควบคุมการหลั่ง หรือยับยั้งฮอร์โมนแต่ละชนิดจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ที่มา : http://sites.google.com/site/chawissil/hxrmon-cak-hi-pho-tha-lama-s

ต่อมไพเนียล (Pineal gland)

                     เรียกอีกชื่อว่า ต่อมเหนือสมอง (Epiphysis) อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างรอยต่อของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) โดยเมลาโทนินจะไปยับยั้งการเจริญของรังไข่และอัณฑะ และไปยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟิน ทำให้การเติบโตเป็นหนุ่มสาวช้า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด พบว่าฮอร์โมนเมลาโทนินมีผลทำให้สีผิวของสัตว์มีสีจางลง โดยต่อมไพเนียลจะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเชลล์รับแสงคล้าย ๆ เนื้อเยื่อเรตินาของ ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำงานตรงข้ามกับฮอร์โมน MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ต่อมนี้ยังทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสงคล้ายเนื้อเยื่อเรตินาของนัยน์ตาอีกด้วย

ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)

                        มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีจำนวน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม เป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญต่อชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่พบในปลา และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ พาราทอร์โมน (Parathormone)





ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์


1.พาราทอร์โมน (Parathormone) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสใน
    เลือด และเนื้อเยื่อให้ปกติ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับ
    วิตามิน ซี และ ดี ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม กับ Calcitonin
หน้าที่ : รักษาระดับสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่ คือ 10 Mg/เลือด 100 c.c.โดย
             ทำงานตรงข้ามกับแคลซิโทนิน คือ ละลายแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด
2.ความผิดปกติของฮอร์โมนพาราทอร์โมน
    1.)ระดับฮอร์โมนต่ำเกินไป : จะเกิดสภาวะ เรียกว่า ไฮโปพาราไทรอยดิสซึม (Hypoparathyroidism)
                                                 ทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่อของหน่วยไตลดน้อยลง มีฟอสฟอรัสมาก
                                                 ขึ้น ทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็ง เรียกการเกิดนี้ว่า Tetany
                                                 แก้โดย ลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงๆ และเพิ่มแคลเซียมหรือฉีดวิตามิน D
     2.)ระดับฮอร์โมนสูงเกินไป : จะเกิดสภาวะที่เรียกว่าไฮเปอร์พาราไทรอยด์ดิสซึม 
                                                  (Hyperparathyroidism) มีผลให้มีการดึงฟอสฟอรัสออกจากเลือด
                                                   แคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูกและฟันเข้าสู่กระแสเลือด แคลเซียมใน
                                                   เลือดสูงกว่าปกติ กระดูกผิดปกติ กระดูกบาง ฟันหักและผุง่าย
3.วิธีป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งและชักกระตุก
                        อาจทำได้โดยเลือกกินอาหาร ที่มีฟอสฟอรัสน้อย หรือเพิ่มเกลือแคลเซียม หรือกินวิตามิน 
    D สม่ำเสมอ เพื่อทำให้ลำไส้เล็กสามารถดูดแคลเซียมกลับได้ดีขึ้น (วิตามิน D ทำงานร่วมกับฮอร์โมน
    พาราทอร์โมน)
                        ฮอร์โมนพาราทอร์โมน จะทำงานร่วมกับคัลซิโตนิน เพื่อรักษาระดับสมดุลของ แคลเซียม
    และฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่ โดยแคลซิโทนินจะช่วยลด แคลเซียมไอออน ในเลือดแต่พาราทอร์-
    โมนช่วยเพิ่ม แคลเซียมไอออนในน้ำเลือด ถ้าร่างกายขาดพาราทอร์โมน จะทำให้ตายในระยะเวลาอัน
    สั้น ถือว่าเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อชีวิตมาก เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของหัวใจ การทำงานของ
    กล้ามเนื้อ และการส่งกระแสประสาท 

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)

                      เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งอยู่บริเวณลำคอ อยู่ด้านหน้าของกล่องเสียง ติดกับฐานของคอหอยเป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในคนปกติมีน้ำหนักประมาณ 25 กรัม แบ่งออกเป็น 2 พูและเชื่อมกันตรงกลาง ด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (Isthmus)  ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน ที่สามารถดึงไอโอดีนจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ได้ ต่อมไทรอยด์ จะประกอบด้วยถุงหุ้มที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เรียกว่า ไทรอย-ด์ฟอลลิเคิล (Thyroid follicle) ซึ่งเป็นที่สร้างและหลั่ง ฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine) ซึ่งมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ  แล้วเก็บไว้ในของเหลว ที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า คอลลอยด์ (Colloid cell) นอกจากนั้นในต่อมไทรอยด์ ยังพบกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า เซลล์ซี (C-cell) หรือ เซลล์พาราฟอลลิคูลาร์ (Parafollicular cell) เป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ ในระหว่างไทรอยด์ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์ซึ่งสร้าง ฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin)




ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์


1.ฮอร์โมนไทรอกซิน
   แหล่งที่สร้าง : ไทรอยด์ฟอลลิเคิล
   อวัยวะเป้าหมาย : อวัยวะในร่างกายทั่วไป
   อาการขาดฮอร์โมนไทรอกซิน : 1.) เด็ก : ในทารกแรกเกิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตมากโดย
                                                                   เฉพาะการเจริญเติบโตของสมองพัฒนาการทาง ด้านสติ
                                                                   ปัญญาด้อยมาก ปัญญาอ่อน แขน ขาสั้น หน้าและมือบวม ผิว
                                                                   หยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระซึ่งแตกต่าง
                                                                   จากเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า โรคเอ๋อ หรือ
                                                                   เครทินิซึม (Cretinism) ซึ่งถ้าสามารถค้นพบปัญหานี้ได้อย่าง
                                                                   รวดเร็วและให้ไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทนได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่
                                                                   แรกเกิด พัฒนาการสามารถเป็นปกติได้ การขาดฮอร์โมนใน
                                                                   ช่วงปีแรกจะทำให้สมองถูกทำลายอย่างถาวร
                                                    2.) ผู้ใหญ่ : ส่งผลให้อัตราเมแทบอลิซึมลดน้อยลง เช่น อ่อนเพลีย
                                                                       เหนื่อยง่าย เซื่องซึม เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
                                                                       ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย หัวใจเต้นช้า ทนหนาวไม่ได้ มี
                                                                       คอเลสเทอรอลสูงผิวหนังบวมน้ำ หน้าบวม อ้วน ทำให้น้ำ
                                                                       หนักเพิ่ม ผมและผิวแห้ง สมองจะทำงานช้าลง ปฏิกิริยา
                                                                       โต้ตอบช้าหรือถึงขั้นความจำเสื่อม ประจำเดือนผิด-
                                                                       ปกติ เรียกกลุ่มอาการดังกล่าวนี้ว่า มิกซีดีมา(Myxedema)
                                                                       ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้มีการผลิต
                                                                       ไทรอกซินได้น้อย (Hypothyroidism) ทำให้ต่อมใต้สมองส่วน
                                                                       หน้าหลั่งไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (TSH) เพิ่มมากขึ้นเพื่อ
                                                                       ไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มมาก
                                                                       ขึ้นจนต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมจะขยายขนาด
                                                                       โตขึ้นทำให้เกิดเป็น โรคคอพอก (Simple goiter)
   อาการฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไปในผู้ใหญ่เกิดอาการที่เรียกว่าไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคคอพอกเป็น
                                                                           พิษ (Toxic goiter) จะทำให้ร่างกายมีอัตราการเกิดเม-
                                                                           แทบอลิซึมสูงกว่าปกติ อาการเหมือนมีการสร้างพลังงาน
                                                                           หรือกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป ได้แก่
                                                                           หงุดหงิด นอนไม่หลับ ตื่นเต้นง่าย มีการเผาผลาญโปรตีน
                                                                           มากทำให้อ่อนเพลีย เนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญมาก
                                                                           จึงทำให้มีเส้นเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากเพื่อลดอุณหภูมิ
                                                                           ของร่างกาย  ทำให้กินจุ น้ำหนักลด มีการเคลื่อนไหวของ
                                                                           ลำไส้มาก ตัวอุ่นชื้นเนื่องจากเส้นเลือดแดงคลายตัว
                                                                           อาจมีอาการคอพอกแต่ไม่มากและตาโปน เนื่องจาก
                                                                           เนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลังลูกตาอ่อนกำลังลง
    วิธีรักษา : ทำได้โดย กินยายับยั้งการสร้างฮอร์โมน ผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออก กินไอโอดีนที่เป็น
                    สารกัมมันตรังสีเพื่อทำลายเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน
2. ฮอร์โมนแคลซิโทนิน
    แหล่งที่สร้าง : สร้างจากเซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์หรือเซลล์ซี
    อวัยวะเป้าหมาย : กระดูกท่อหน่วยไต และ ลำไส้เล็ก
    หน้าที่ : ลดระดับแคลเซียมในเลือดให้ต่ำลงถ้าในเลือดมีระดับแคลเซียมสูง
                กว่าปกติ ทำได้โดย การเพิ่มการสะสมแคลเซียมที่กระดูก และ 
                การลดการดูดแคลเซียมกลับจากท่อหน่วยไต (ขับแคลเซียมทิ้ง
                ทางน้ำปัสสาวะ)