วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต่อมไทมัส (Thymus gland)

                  มีลักษณะเป็นพู 2 พู อยู่บริเวณทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจ ต่อมไทมัสจะเจริญเต็มที่ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดาและมีขนาดใหญ่มากเมื่อยังมีอายุน้อย แต่เมื่ออายุมากขึ้นขนาดของต่อมไทมัสจะเล็กลงและฝ่อไปในที่สุด
อวัยวะเป้าหมาย : เนื้อเยื่อต่อมไทมัส
หน้าที่ : กระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมไทมัสเอง ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองสร้าง T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็น
             เซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และพัฒนา T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์
             ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ออกเป็น 3 ชนิดที่มีหน้าที่การทำงานต่างกันไป ชนิดแรก
             มีหน้าที่จดจำและตอบสนอง เพื่อระบุชนิดของแอนติเจนที่พบในร่างกาย แล้วกระตุ้นการทำงาน
             ของ B-cell ให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคให้หมดฤทธิ์ไป ชนิดที่สอง
             มีหน้าที่ยับยั้งการทำลายเซลล์ร่างกายของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่สามมีหน้าที่กำจัดเซลล์
             ร่างกายที่ติดเชื้อ


ไทโมซิน (Thymosin)
                  เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทมัส ซึ่งมีโครงสร้างเป็นสาย พอลิเปปไทด์ ที่มีกรดอะมิโนต่อกัน    เป็นสาย มีโครงสร้างหลายแบบ เช่น ไทโมซินแอลฟาหนึ่ง และไทโมซินเบตาสี่ เป็นต้น
หน้าที่ : กระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซท์ (Lymphocyte หรือ T-cell) ที่ยังอ่อนอยู่
             (Immature lymphocyte) แล้วปรับสภาพไปเป็นลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่ (Mature lymphocyte)
                  ลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่แล้วจะออกจากต่อมไทมัสไปอยู่บริเวณม้ามและ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากการกระทำของเซลล์ (Cellular immunity) คือทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาภูมิแพ้ และการไม่ยอมรับเนื้อเยื่อแปลกปลอมที่ปลูกถ่ายกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ต่อมไทมัสจะไวต่อการติดเชื้อ รังสี การเจ็บป่วยมาก พบว่าถ้ามีการติดเชื้อนานๆ เมื่อหายแล้วต่อมไทมัสจะมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น